Wearable Devices Cloud Computing in Thailand และการประยุกต์ใช้

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Cloud Computing in Thailand และการประยุกต์ใช้

       ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีนักพัฒนาหลายคนได้พัฒนาระบบบน Cloud Computing แล้วซึ่งส่วนมากเป็น Application ที่ใช้สำหรับคนทั่วโลก ไม่ได้เน้นเฉพาะคนไทยเป็นหลัก โดยปัญหาหลักคือ Bandwidth ของไทยที่ไปต่างประเทศนั้นน้อยกว่า Bandwidth ในประเทศรวมทั้งราคา Bandwidth ต่างประเทศแพงกว่า Bandwidth ในประเทศหลายเท่า ดังนั้นผู้ให้บริการประเภท Web service ที่มีลูกค้าเป็นคนไทยจึงยังไม่สนใจใช้บริการ Cloud Computing จากต่างประเทศ  ส่วนการให้บริการ Cloud Computing ในไทย ปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการประเภทนี้ แต่มีหลายองค์กรที่เริ่มศึกษาและเริ่มนำมาใช้ในองค์กรก่อน หรือเรียกได้ว่าเป็น Private Cloud

       Cloud Computing คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่ม Cloud อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง และที่สำคัญก็คือบรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมีฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Cloud หนึ่งๆ อาจมีทั้งเครื่องพีซี และเครื่องแอปเปิล หรือมองอีกมุมหนึ่ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่อาจมีอยู่หลายชนิด เป้าหมายของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเช่นนี้ ก็เพื่อจะดึงพลังในการประมวลผล ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมาประสานกัน เพื่อนำไปใช้จัดการงานประมวลผลใหญ่ๆ ที่แต่เดิมอาจต้องใช้คอมพิวเตอร์คุณภาพสูง ต้นทุนมหาศาล แต่กับเทคโนโลยี Cloud Computing แล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดต้นทุน และหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดมาทำงานร่วมกันแทน
       สำหรับ Cloud Computing แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบหลังบ้านจะต้องทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากรอะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ จากนั้นบริการก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูกจัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
       ในปัจจุบันเราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค Email, และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่าน Group และ Web board รวมไปถึง blog ส่วนตัวและ Social network อย่าง Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพ แชร์วีดีโอผ่าน Youtube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งาน application ต่างๆ ที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างเช่น Facebook มีบริการ application ต่างๆ ไว้ให้อยู่ ผู้ใช้สามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Dog ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google apps ที่รวม application ต่างๆ ผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและ application ต่างๆ เหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือนเป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆ ได้ก็จะทำให้เกิด Cloud Computing ขึ้นมาในที่สุดและตัวอย่างความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริงแล้ว คือกรณีระหว่าง Salesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการ
      เทคโนโลยี Cloud Computing ก็เป็นอีกวัตกรรมหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความสนใจ  และอยู่ในช่วงเริ่มต้น และพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาลภายในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่สำคัญเรื่องของ Cloud Computing นี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนในเรื่องของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล ที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังมีการพัฒนา เพื่อสร้างวงจรเชื่อมต่อความเร็วสูงสำหรับรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลต่างๆ ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจ Cloud Computing อยู่ในสภาพของ “เสือติดปีก” พร้อมทะยานขึ้นเป็นดาวรุ่งแห่งโลกไอซีที การทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยี Cloud Computing และรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงกลายเป็นเรื่องที่มากกว่าคำว่าจำเป็น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น